คำว่า “… บ๊ายบาย ลูก เดี๋ยวเราเจอกัน” สำคัญไฉน? จิตวิทยาเด็ก

“See you later Alligator! Separation anxiety and saying goodbye”

บทความโดยครูจิตต์

แปลโดยแมงผึ้ง

Scroll down for English!

ไม่ว่าคุณจะอายุ 3 ขวบ หรือว่า… 35 ปี การแสดงออกผ่านทางคำพูดระหว่างสมาชิกในครอบครัว เป็นเสมือนวัฒนธรรมเพื่อให้รับรู้ได้ถึงความ ความรัก ความไว้วางใจ และความอบอุ่นทางใจ

ความรู้สึกกลัว กระวนกระวายและเครียด เมื่อเด็กๆจะต้องแยกจากผู้ปกครองที่เรียกว่า Separation anxiety เป็นหนึ่งในขั้นพัฒนาการของเด็ก

เป็นปรกติของเด็กๆในช่วงอายุระหว่าง 1-3 ขวบที่จะแสดงอารมณ์ด้วยการร้องไห้และเกาะติดในเวลาที่ต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ รูปแบบอารมณ์นี้คือความวิตกกังวลจากการพรากจาก (separation anxiety) ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะเกิดความกังวลได้ในการที่ลูกรักจะต้องแยกกับคุณพ่อคุณแม่

ทั้งนี้ประสบการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนต้องเจอครับ กระบวนการนี้มักจะจบลงในช่วงอายุประมาณ 3 ขวบ เมื่อเด็กเริ่มตระหนักว่าคุณพ่อคุณแม่จะออกจากสายตาเพียงชั่วคราวและประเดี๋ยวก็จะเจอกันใหม่แล้ว

วันนี้ค่ายใต้ต้นไม้ขอเสนอเคล็ดลับบางอย่างเพื่อช่วยลด Separation anxiety ให้เด็กๆ รู้สึกปลอดภัยบนโลกใบใหญ่ๆ นี้ เมื่อคุณต้องส่งพวกเขาไปที่โรงเรียน (หรือค่าย)! ?

“See you later Alligator! Separation anxiety and saying goodbye”

Whether if you are 3, or 35 years young, family especially in collective cultures are the center of love, trust, and comfort.

Separation anxiety is something new parents may dread but will eventually have to deal with at some point in their parenthood.

Separation anxiety is a normal stage in a child’s development – it is innate and has kept our ancestors safe in the big threatening world. It is where one can gradually learn about the world around them through the guidance from their caretakers. This usually ends at around age 3, when children begin to realize that their parents being out of sight is only temporary.

Here are some tips to help ease your child’s separation anxiety, whether if it’s sending them off to school, their grad parents’ or leaving for work!

46045284 2206302156309387 2734406502549815296 n

Praise and Positive reinforcement –

บอกลูกๆของคุณถึงความเข้าใจ และให้กำลังใจเสมอ เช่น “แม่รู้และเข้าใจนะ ว่าหนูอาจคิดว่ามันน่ากลัว แต่จำได้ไหมว่า หนูเคยกลัวสไลเดอร์ แล้วตอนนี้ละ หนูชอบมันมากๆเลยนะคะ”

Tell your child that he is progressing and show empathy “I understand you may think it is scary but remember how you were afraid of the slider? Now you love it!”

46043975 2206302166309386 3748021524594950144 n 1

Trust! –

ความไว้วางใจ! คุณต้องให้ความไว้ใจในตัวของผู้ดูแลเด็ก เรารู้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่พ่อแม่ต้องห่วงเรื่องการนำเด็กๆ มาให้อยู่ในความดูแลของคุณครูคนใหม่ในโรงเรียนแห่งใหม่ คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจ พูดคุยกับคุณครูและคุณควรมั่นใจว่าคุณไว้ใจในตัวพวกเขาก่อนที่จะนำบุตรหลานไปไว้ในสถานที่นั้นๆ ประเด็นนี้สำคัญมากเพราะว่าเด็กๆนั้นสามารถรับความรู้สึกจากคุณได้ หากคุณเองยังมีความลังเลใจแล้ว เด็กๆก็จะไม่มั่นใจเหมือนกัน!

Make sure you trust the caretaker, it is perfectly normal for parents to worry about handing their child over to a new teacher in a new preschool. Make sure you do your research, talk to the teachers, and make sure you trust them before bringing your child there with you. Kids can pick up on your uncertainty and if one hesitates, they can feel vulnerable

46107823 2206302169642719 7776172571560509440 n

Separation –

เป็นเรื่องยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่เหมือนกันในการที่ต้องแยกจากเด็กๆ ความกังวลอาจทำให้คุณแอบดูเด็กๆ หรือแม้แต่เดินเข้าไปทักทายลูกๆ ในช่วงระหว่างการเรียนการสอนด้วยความหวังว่าจะช่วยให้เด็กๆลดความกังวลลง แต่นั้นอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่แย่ลง ในการที่เด็กๆจะต้องแยกจากคุณซ้ำแล้วซ้ำเล่าในวันนั้น

It may be difficult for parents not to worry but popping by the classroom to say hello when your child is experiencing separation anxiety will only worsen the situation. He will then be put in the traumatic situation where he has to say good bye over and over again

46144885 2206302206309382 7827173766307250176 n

Create a bye-bye ritual –

การสร้างประเพณี bye-bye คือสิ่งที่สำคัญมากเป็นอันดับหนึ่ง การลดความกังวลของเด็ก เช่น การจับมือแบบพิเศษที่คิดค้นกันเองระหว่างคุณและลูกๆหรือการร้องเพลง รวมทั้งการฝึกซ้อมร่ำลา “… บายๆ นะลูก เดี๋ยวเราจะเจอกัน”

Pairing good bye rituals with manageable events can help a child with anxiousness, such as creating a special handshake or song to sing and practicing it in short increments throughout the day where goodbyes are short and manageable

46022121 2206302212976048 891759927909941248 n

Do not make hollow promises –

อย่าสัญญาอะไรกับเด็กๆถ้าคุณไม่มั่นใจว่าจะทำได้ ยกตัวอย่างเช่น อย่าพูดว่าคุณจะนั่งอยู่ที่ม้านั่งข้างนอก ถ้าคุณจะไม่ได้อยู่ที่นั่น เนื่องจากเด็กๆ (ลูกของคุณ) จะมองหาคุณตลอดทั้งวันและเขาจะยิ่งกังวลมากขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น

Do not say that you will be sitting at the bench outside when you will not be there. Your child will be looking for you all day, and he will only be more anxious when you aren’t there

บทความโดยครูจิตต์

ครูจิตต์ นักวิจัยเชิงคุณภาพ จบการศึกษาจาก Northeastern University ด้าน จิตวิทยา สาขา Sensation & Perception และ BSc. Business Administration

Translated by

แพรวพนิต คอนดี BSc Music Technology, MSc Information System, PhD Candidate in Business Informatics

Share This Article!