?? วิทย์ – ศิลป์ ความแตกต่างที่ไม่ต่าง
บทความโดย ดร. ลินดา เยห์
❓ “ลูกจะเรียนต่อด้านไหนดีนะคะ.. สายวิทย์คณิตหรือสายศิลป์ดี ?”
? จากประเด็นที่มักมีผู้ปกครองหรือผู้เกี่ยวข้องทางการศึกษาตั้งคำถาม ว่าความสำคัญของทักษะคณิตศาสตร์ว่ามีมากกว่าทักษะทางด้านภาษา
เนื่องจากสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนานวัตกรรมของประเทศจริงหรือไม่นั้น
การให้คุณค่าของความสามารถในด้านใดด้านหนึ่ง
เป็นสิ่งที่หลายประเทศทำและมักผูกโยงกับนโยบายการพัฒนาประเทศนั้น ๆ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเย็นที่ต้องการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เพื่อแข่งขันกับสหภาพโซเวียตที่ส่งยานสปุตนิกขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สำเร็จเป็นประเทศแรกของโลก
ประเทศไทยก็เช่นกันโดยเฉพาะในปัจจุบันที่ต้องการส่งเสริมด้านการสร้างนวัตกรรมก็จะมีนโยบายส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์ ซึ่งปรากฎอย่างเป็นรูปธรรมทั้งการมีห้อง gifted ด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์ในโรงเรียนปกติ มีโรงเรียนพิเศษเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์ และจัดการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติ
ถึงแม้ว่าการให้การส่งเสริมศักยภาพเด็กและเยาวชนให้สูงขึ้นเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง
ความคิดเปรียบเทียบว่าความสามารถด้านหนึ่งมี “คุณค่า” มากกว่าความสามารถอีกด้านหนึ่งมีอันตรายซ่อนอยู่มาก โดยเฉพาะ message ที่ส่งไปถึงเด็กและเยาวชนว่าความสามารถในด้านหนึ่งดีว่า เก่งกว่า หรือก้าวหน้ากว่าด้านอื่น ๆ แทนที่จะมองว่าเค้าเก่ง ชอบ และถนัดในเรื่องอะไร แล้วส่งเสริมเพื่อให้เก่ง ชอบ และถนัดมากขึ้น
นอกจากนั้น งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าความสามารถของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ มีทักษะย่อยที่เชื่อมโยงกันอยู่ เช่น ทักษะการคิดเชิงตรรกและการใช้เหตุผล มีอยู่ในทั้งคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์ และภาษา แสดงให้เห็นว่าศาสตร์ทั้งสองต้องใช้ทักษะการคิดเชิงตรรกะ แต่อาจจะแสดงออกมาในรูปแบบสัญลักษณ์ที่แตกต่างกันเท่านั้น
? โจทย์หลักของการพัฒนาประเทศ
จึงไม่ควรอยู่ที่การตั้งคำถามว่าทักษะไหนมีคุณค่าหรือมีความสำคัญมากกว่ากัน แต่คือการให้โอกาสเด็กและเยาวชนได้สำรวจความชอบ ความถนัด และความรักในศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อเป็นฐานพลังในการเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าไม่ว่าจะอยู่ในภาคส่วนใดของสังคม
*บทความเขียนโดย ดร. ลินดา เยห์
ดร. ลินดา เยห์ เป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบปริญญาเอกด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ จาก University of New South Wales ประเทศออสเตรเลีย และทำงานเป็นผู้จัดการศูนย์ Gifted Education Research, Resource, and Information Center (GERRIC) เป็นเวลา 3 ปี ทำให้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปกครอง และเด็ก ทั้งการจัดกิจกรรมเพื่อประเมินศักยภาพและส่งเสริมความสามารถ และการให้คำปรึกษากับครูและผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่มีความสามารถพิเศษ หลังจากนั้นได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาพิเศษที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพ สถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ จัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็ก ประเมินความสามารถและพัฒนาการเด็ก และให้คำปรึกษาแก่ครูและผู้ปกครอง
Dr. Yeh is a lecturer at Faculty of Learning Sciences and Education, Thammasart University. She received her Ph.D. in Gifted Education from the University of New South Wales (UNSW), Australia. At UNSW, she worked as a manager and a consultant at Gifted Education Research, Resource, and Information Centre (GERRIC) where she had the opportunity to work closely with teachers, families, and children with high potential. Upon graduation, she returned to Thailand and taught at the Department of Special Education, Srinakharinwirot University. Apart from teaching in undergraduate and postgraduate programs, she was a gifted education specialist at the Gifted Child Center where she led identification programs for gifted children, supervised enrichment activities and served as a family consultant.
พัฒนาการเด็กเล็ก: แนวทางและวิธีการส่งเสริม
พัฒนาการเด็กเล็ก: แนวทางและวิธีการส่งเสริม พัฒนาการของเด็กเล็กเป็นช่วงเวลาสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม
The Mysterious Case on the Winter Mountain : คดีประหลาดบนภูเขาฤดูหนาว – Winter Camp
Christmas Winter Camp คดีประหลาดบนภูเขาฤดูหนาว A